เรื่อง: โรคทางเดินกระเพาะปัสสาวะส่วนล่างในแมว
 
 568

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

My Name: ขายหมา ออฟไลน์
Administrator
เพศ: ชาย
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
18 เม.ย. 64, 21:31:49น.
โรคทางเดินกระเพาะปัสสาวะส่วนล่างในแมว

          โรคทางเดินกระเพาะปัสสาวะส่วนล่างในแมว หรือในทางสัตวแพทย์เรียกว่า Feline lower urinary tract disease (FLUTD) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในน้องแมว เป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ โดยมีตั้งแต่อาการน้อยจนถึงอาการรุนแรง    

          เจ้าของแมวควรมีความเข้าใจในโรคเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เขาป่วย แมวที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้คือ น้องแมวช่วงอายุ 1 ปีขึ้นไป พบในแมวตัวผู้ที่ทำหมันแล้วมากกว่าตัวเมีย น้องแมวที่เลี้ยงในบ้าน ไม่ค่อยออกกำลังกาย กินอาหารเม็ดเป็นหลัก พบว่าน้องแมวที่น้ำหนักตัวเกิน มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าแมวทั่วไปถึง 4 เท่า



สาเหตุที่พบ

-   นิ่วอุดตันในท่อปัสสาวะ (urthral plug)
-   กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
-   นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
-   กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ทราบสาเหตุ (Feline idiopathic cystitis; FIC) ซึ่งกระตุ้นจากความเครียดสะสม

อาการที่พบในน้องแมว

-   ปัสสวาะไม่ออก ปวดเบ่งเวลาปัสสาวะ พยายามเบ่งปัสสาวะนาน
-   ปัสสาวะบ่อยขึ้น เข้ากระบะทรายบ่อย น้องแมวฉี่ได้เป็นกองเล็กๆ
-   ปัสสาวะเป็นเลือด อาจจะพบว่าปัสสาวะเป็นสีแดง หรืออาจจะพบเลือดเป็นหยดบริเวณบ้าน
-   ปัสสาวะนอกกระบะทราย หรือปัสสาวะไหลตลอดเวลา รอบๆอวัยเพศจะเปียกตลอด
-   น้องแมวบางตัวจะพยายามเลียตัว (over-grooming) หรือพยายามเลียบริเวณท้อง เนื่องจากมีอาการปวดท้อง

การวินิจฉัย

   สัตวแพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจเอ๊กเรย์ร่วมกับการอัลตราซาวด์ เพื่อดูเกี่ยวกับปัญหานิ่ว หรือก้อนเนื้องอกที่อาจจะอุดตันทางเดินปัสาวะ และจะตรวจปัสสาวะเพื่อดูการติดเชื้อร่วมด้วย ถ้าน้องแมวมีอาการอาเจียน หรือไม่สามารถฉี่ได้เกิน 24 ชั่วโมง อาจจะเกิดปัญหาไตวายฉับพลัน ดังนั้นอาจจำเป็นต้องตรวจเลือด ค่าเคมีในเลือด เพื่อประเมินภาวะไตวายฉับพลัน
   
การรักษา

ในกรณีทั่งพอปัสสาวะได้เอง อาจจะไม่จำเป็นต้องสวนท่อปัสสาวะ แต่ถ้าน้องแมวฉี่ไม่ออกเลย สัตวแพทย์จะสวนปัสสาวะเพื่อระบายออกก่อน เพื่อป้องกันภาวะไตวายฉับพลัน ส่วนการรักษานั้นจะขึ้นกับสาเหตุของโรค เช่น ถ้าอาการฉี่ไม่ออกเกิดจากนิ่วก็ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด (นิ่วขนาดใหญ่) หรือกินอาหารสลายนิ่ว (นิ่วทรายขนาดเล็ก) หรือถ้าอาการฉี่ไม่ออกเกิดจากภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือ FIC นั้นก็จำเป็นต้องมีการจัดการปัญหาแบบองค์รวม เช่น ต้องมีการปรับรูปแบบอาหาร ควบคุมน้ำหนัก จัดสภาพแวดล้อมใหม่ เพิ่มปริมาณการกินน้ำ จัดการกระบะทรายให้สะอาดอยู่เสมอ เป็นต้น


https://icatcare.org/advice/feline-lower-urinary-tract-disease-flutd/
https://www.sciencedirect.com/topics/veterinary-science-and-veterinary-medicine/feline-lower-urinary-tract-disease
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/tjvm/article/view/10712



Tags: