เรื่อง: โรคติดเชื้อในน้องแมว ที่ทาสแมวต้องเข้าใจ ก่อนนำน้องแมวมาเลี้ยงด้วยกัน
 
 613

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

My Name: ขายหมา ออฟไลน์
Administrator
เพศ: ชาย
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
19 เม.ย. 64, 21:37:10น.
โรคติดเชื้อในน้องแมว ที่ทาสแมวต้องเข้าใจ ก่อนนำน้องแมวมาเลี้ยงด้วยกัน

   หลายๆครอบครัวที่เลี้ยงแมวคงคุ้นหูกับโรคติดเชื้อเหล่านี้มาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้หัดแมว โรคเอดส์แมว โรคลิวคีเมียในแมว และโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ถ้าเลี้ยงน้องแมวเพียงหนึ่งตัวในบ้านคงไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าเราจำเป็นต้องดูแลแมวที่ป่วยร่วมกับแมวที่ไม่ป่วย เราควรทำอย่างไร ต้องแยกเลี้ยงหรือไม่ โรคไหนแยกเลี้ยงบ้าง เราต้องเข้าใจถึงวิธีการติดต่อ และระยะเวลาการปล่อยเชื้อของแต่ละโรค


   
โรคไข้หัดแมว (Feline Panleukopenia/Parvovirus Virus ; FPV)

วิธีการติดต่อ : ติดต่อจากอุจาระและสารคัดหลั่งอื่นๆ เช่น ปัสสาวะและน้ำลาย ผ่านการปนเปื้อนเชื้อเข้าทางปาก (Fecal oral route) และสามารถติดต่อทางอ้อมได้ ผ่านทางการกินข้าว กินน้ำในชามเดียวกัน หรือการใช้กระบะทรายร่วมกัน การเลียขนให้กัน

ระยะเวลาการปล่อยเชื้อ : เชื้อไวรัสพาร์โวไวรัสจะติดเชื้อที่เซลล์เยื่อบุลำไส้ สามารถปล่อยผ่านออกมากับอุจจาระของน้องแมวที่แสดงอาการป่วย มีอาการถ่ายเหลว และน้องแมวที่หายจากโรคไข้หัด ไม่พบอาการถ่ายเหลวแล้ว ยังสามารถปล่อยเชื้อออกมากับอุจจาระและปัสสาวะได้นานถึง 6 สัปดาห์

การดูแล : โรคนี้จำเป็นต้องแยกเลี้ยงจนกว่าน้องแมวจะหายป่วยจากโรค หากตรวจพบว่าน้องแมวในบ้านมีอาการป่วยด้วยโรคนี้ ต้องแยกเลี้ยงและทำความสะอาดฆ่าเชื้อให้เร็วที่สุด หลังจากรักษาจนหายดีแล้วควรแยกเลี้ยงต่ออีกอย่างน้อย 1 เดือน และก่อนนำแมวกลับเข้ามาเลี้ยงด้วยกันควรมั่นใจว่าตัวอื่นๆได้รับการกระตุ้นวัคซีนไข้หัดตามกำหนด และทำการฆ่าเชื้อภายในบ้านด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อแล้ว

โรคหวัดแมว (Cat Flu)

วิธีการติดต่อ : ติดต่อระหว่างแมวด้วยกันโดยตรงผ่านการสัมผัสสิ่งคัดหลั่ง (น้ำมูก น้ำลาย น้ำตา) และติดต่อผ่านทางอ้อมผ่านชามน้ำ ชามอาหาร และจากมือคนที่สัมผัสแมวป่วยแต่ไม่ได้ล้างมือ

ระยะเวลาการปล่อยเชื้อ : น้องแมวที่เป็นโรคหวัดแมวสามารถปล่อยเชื้อได้ในระหว่างที่ป่วย และหลังจากหายแล้วประมาณ 4 สัปดาห์ แต่พบว่าแมวบางตัวมีการกลับมาเป็นซ้ำเนื่องจากร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสให้หมดไปได้ จึงอาจจะแพร่เชื้อได้ตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นอาจจำเป็นต้องแยกเลี้ยงกับแมวตัวอื่นหลังจากหายป่วยแล้วอย่างน้อย 1 เดือน และควรให้แมวตัวอื่นๆกระตุ้นวัคซีนไข้หวัดแมวเป็นประจำ และน้องแมวที่เพิ่งรับเข้ามาใหม่ควรแยกเลี้ยง และแยกอุปกรณ์ต่างๆ ชัดเจน

โรคลิวคีเมียในแมว (Feline Leukemia Virus; FeLV)

วิธีการติดต่อ : ติดต่อระหว่างแมวผ่านการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งต่างๆ เช่น เลือด อุจาระ ปัสสาวะ น้ำมูก และน้ำลาย ซึ่งสามารถส่งผ่านเชื้อจากการที่น้องแมวใช้ชามน้ำชามอาหาร และกระบะทรายร่วมกัน เลี้ยงรวมกันมีการเลียขนให้กัน และยังสามารถติดต่อผ่านทางการกัดกันได้ แม่แมวที่ป่วยเป็นโรคลิวคีเมียสามารถส่งผ่านเชื้อขณะตั้งท้องและขณะให้นมลูกได้
   
ระยะเวลาการปล่อยเชื้อ : แมวที่มีเชื้อไวรัสลิวคีเมีย มักจจะไม่แสดงอาการของโรค แต่สามารถปล่อยเชื้อได้ตลอดอายุขัย โดยปริมาณของเชื้อที่ปล่อยออกมาจะมากน้อยขึ้นกับระดับภูมิในช่วงเวลานั้น ดังนั้นต้องแยกเลี้ยงน้องแมวที่มีเชื้อลิวคีเมียกับตัวอื่นๆ แล้วควรทำหมันเพราะว่าน้องแมวสามารถส่งต่อเชื้อให้กับลูกได้

ควรเลี้ยงในระบบปิดตลอดเวลาเพื่อไม่ให้น้องแมวส่งต่อเชื้อสู่ตัวอื่นๆ

3 โรคที่กล่าวถึงเป็นโรคที่พบได้บ่อย และมีการระบาดเป็นประจำทุกปี ดังนั้นผู้เลี้ยงน้องแมวยังต้องมีความเข้าใจ เพื่อที่จะแยกเลี้ยงได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นโรคติดในแมวที่พบได้อีกคือ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Feline infectious peritonitis; FIP) และโรคเอดส์แมว (Feline Immunodeficiency Virus; FIV) ซึ่งพบได้เป็นอันดับรองลงมา สำหรับโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ เกิดจากเชื้อ Corona virus ที่กลายพันธุ์ มักพบในน้องแมวที่เลี้ยงรวมกันปริมาณมาก บางตัวมีเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ ส่วนโรคเอดส์แมวติดต่อผ่านทางเลือด และมีการแพร่เชื้อได้น้อยมาก แมวที่ป่วยเป็นโรคนี้สามารถเลี้ยงรวมกับแมวตัวอื่นได้
   

แหล่งที่มา
https://www.sciencedirect.com/topics/agricultural-and-biological-sciences/feline-parvovirus
https://www.msdvetmanual.com/cat-owners/disorders-affecting-multiple-body-systems-of-cats/feline-leukemia-virus-felv
https://www.msdvetmanual.com/cat-owners/disorders-affecting-multiple-body-systems-of-cats/feline-leukemia-virus-felv
https://www.vet.cornell.edu/departments-centers-and-institutes/cornell-feline-health-center/health-information/feline-health-topics/feline-immunodeficiency-virus-fiv








Tags: