เรื่อง: โรคพยาธิหนอนหัวใจ
 
 2629

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

My Name: ขายหมา ออฟไลน์
Administrator
เพศ: ชาย
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
13 พ.ย. 56, 13:10:54น.


โรคพยาธิหนอนหัวใจ
           ชีพจักรของพยาธิหนอนหัวใจของสุนัขเริ่มต้นเมื่อสุนัขที่ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจ ซึ่งจะมีตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจอยู่ในกระแสเลือด (microfilariae) ถูกยุงดูดกินเลือด ทำให้ยุงได้รับเอาตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจไปด้วยเมื่อดูดกินเลือดสุนัขป่วยเป็นอาหารหลังจากนั้นตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจจะใช้ระยะเวลาภายหลังจากถูกดูดกินจากตัวสุนัข ประมาณ 2-3 สัปดาห์ในการพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อในตัวยุง
เมื่อยุ่งมีการดูดกินเลือดของสุนัขอีกครั้ง โดยเฉพาะสุนัขที่มีสุขภาพปกติ (ไม่ได้ป่วยเป็นโรค) ยุงจะมีการถ่ายเทตัวอ่อนระยะติดต่อที่ได้มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้วในยุงไปยังสุนัขอีกตัวหนึ่ง จากนั้นตัวอ่อนระยะติดต่อจะชอนไชไปตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของสุนัข และเจริญเติบโตต่อไปอีก 2-3 เดือนและพัฒนาเป็นตัวแก่ในที่สุดในหัวใจของสุนัขตัวใหม่
เมื่อตัวพยาธิอยู่ในหัวใจของสุนัข และมีการเจริญเติบโตในหัวใจของสุนัข มันจะมีขนาดยาวประมาณ 14 นิ้ว และทำความเสียหายให้กับเนือ้เยื่อหัวใจ เนื้อเยื่อปอดและอวัยวะที่สำคัญอื่นๆ ถ้าสุนัขป่วยไม่ได้รับการรักษา การพัฒนาของโรคจะมีความรุนแรงมากขึ้นและที่สุดสุนัขจะตายได้

คำถาม & คำตอบที่มักจะพบเสมอๆ จากเจ้าของสุนัข.
          • "สุนัขสามารถเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจได้หรือไม่"
          • "สุนัขบางตัวมีความไวต่อการเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจใช่หรือไม่"
          • "จะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขป่วยเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจแล้ว"
          • "เมื่อไหร่จึงควรนำสุนัขไปตรวจว่าเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจหรือไม่"
          • "จะสามารถป้องกันสุนัขไม่ให้ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจได้อย่างไร
 
"สุนัขสามารถเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจได้หรือไม"
          สุนัขสามารถป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจได้ ไม่ว่าสุนัขจะอาศัยอยู่นอกบ้าน หรือแม้แต่ภายในบ้านตลอดเวลา สุนัขสามารถติดโรคพยาธิหนอนหัวใจได้ด้วยยุง โดยเฉพาะยุงตัวเมียที่ต้องกัดกินเลือด ยุงจะเป็นพาหะนำพยาธิระยะติดต่อมาสู่สุนัข ยุงเพศเมียเป็นแมลงขนาดเล็ก จึงสามารถผ่านเข้าอ่อนช่องหน้าต่าง ประตูบ้าน หรือรูต่างๆ เข้ามาภายในบ้านได้ สุนัขทุกตัวจึงมีโอกาสติดและป่วยเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจได้ทุกตัว แม้ว่าจะอยู่ในบ้านก็ตาม ถ้ายุงที่กัดมีเชื้อพยาธิอยู่ ดังนั้นในบริเวณที่มีตัวกักโรค(สุนัขที่ป่วยและไม่ได้รับการรักษา)จะเป็นตัวแพร่เชื้อให้กับสุนัข หรือแมวตัวอื่นๆ หรือทำให้สัตว์ตัวอื่นอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการติดโรคพยาธิหนอนหัวใจ indoors or out.

 


"สุนัขบางตัวมีความไวต่อการเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจใช่หรือไม" ยังไม่มีรายงานการศึกษาใดๆ ที่ชี้ว่าสุนัขตัวใด สายพันธุ์ใดมีภูมิต้านทานต่อโรคพยาธิหนอนหัวใจ

 


"จะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขป่วยเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจแล้ว"
          ที่จะทราบว่าสุนัขป่วยเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจหรือไม่ มีหนทางเดียวคือนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคนี้ การตรวจมีด้วยกันหลายวิธี ทั้งวิธีที่ง่ายจนถึงวิธีการที่มีขั้นตอนซับซ้อน แต่ทั้งนี้ก็ใช้เวลาไม่มากก็สามารถทราบผลได้ แต่ไม่ควรรอที่จะตรวจร่างกาย โดยเฉพาะในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคนี้มากพอสมควร โดยเฉพาะในเขตชุมชน กรณีที่ทราบว่าสุนัขป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจแล้ว สามารถให้การรักษาได้ แต่การรักษายังไม่ถือว่าปลอดภัยสำหรับการรักษาได้อย่าง 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากผลข้างเคียงภายหลังจากการรักษา รวมทั้งยาที่ใช้ในการรักษามีราคาค่อนข้างแพง



"เมื่อไหร่จึงควรนำสุนัขไปตรวจว่าเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจหรือไม"
          ยุงคือพาหะของโรคนี้ ยุงที่เป็นพาหะสามารถพบได้ตลอดเวลา ดังนั้นสุนัขมีโอกาสติดโรคได้ตลอดเวลา เวลาที่เหมาะสมที่จะต้องนำสุนัขไปตรวจการป่วยเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจจึงควรปรึกษาสัตวแพทย์


"จะสามารถป้องกันสุนัขไม่ให้ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจได้อย่างไร"
          ถ้าผลการตรวจพบว่าสุนัขไม่ติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ การป้องกันโรคนี้ก็จะทำได้ง่ายๆ ทั้งนี้ควรปรึกษาสัตวแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ ด้วยการจัดโปรแกรมการฉีดยาป้องกัน หรือการกินยาป้องกัน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องจำไว้เสมอ ก่อนที่จะใช้โปรแกรมการป้องกันใดๆ ต้องนำสุนัขไปตรวจการติดเชื้อเสียก่อน

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 ส.ค. 61, 15:05:18น. โดย ขายหมา

Tags: