เรื่อง: การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสุนัขมีไข้
 
 4554

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

My Name: ขายหมา ออฟไลน์
Administrator
เพศ: ชาย
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
24 ก.ค. 64, 20:35:37น.
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสุนัขมีไข้

   อาการไข้ เป็นอาการเบื้องต้นของโรคต่างๆหลายโรค ทุกๆระบบของร่างกายสามารถทำให้มีไข้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการอักเสบ การติดเชื้อ การเกิดเนื้องอกหรือมะเร็ง เป็นต้น อาการไข้สามารถพบได้กับสุนัขทุกช่วงอายุ ทุกสายพันธุ์ เป็นการตอบสนองของภูมคุ้มกันของร่างกาย อาการไข้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้



เมื่อไหร่ถึงเรียกว่าสุนัขมีไข้ ?

   อุณหภูมิปกติในสุนัขจะอยู่ระหว่าง 37.5 – 39.50 องศาเซสเซียส หรือ 99.5-102.5 ฟาเรนต์ไฮต์ จะสูงกว่าอุณหภูมิปกติในคน ซึ่งอาการไข้คือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากการตอบสนองของร่างกายต่อการอักเสบหรือติดเชื้อ สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้น และพาไปพบสัตวแพทย์ภายหลังได้ 

   สุนัขอาจจะมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติได้ในกรณีที่มีอาการตื่นเต้น กลัว ตกใจ หรือเครียด และสามารถกลับสู่ปกติได้เองหลังจากให้สุนัขพัก หรือสุนัขหายจากอาการเครียด ส่วนภาวะลมแดดหรือ ฮีทสโตรก คือ เกิดจากการที่สุนัขออกกำลังกายมากในสภาวะอากาศที่มีความชื้นสูงจนระบายความร้อนไม่ทัน หรืออยู่ในที่ที่อากาศร้อนจัด มักพบว่ามีอุณหภูมิสูงกว่า 106 ฟาเรนไฮต์ อาการนี้เป็นภาวะฉุกเฉินแนะนำให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

เมื่อสุนัขมีไข้ จะแสดงอาการอย่างไร ?

   สุนัขที่เริ่มมีไข้ อาจจะแสดงอาการนอนมากกว่าปกติ ไม่ลุกเดิน เก็บตัว หรือซ่อนตัว หากอาการไข้ดำเนินต่อเนื่องจะทำให้สุนัขเบื่ออาหาร และเกิดภาวะขาดสารอาหาร หรือภาวะขาดน้ำตามมาได้ เจ้าของจะสังเกตุว่าผิวหนังสุนัขจะร้อนมากกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณใต้ท้อง ใบหู หรือลมหายใจอาจจะร้อนกว่าปกติ สุนัขอาจจะมีอาการตาแดง อาจจะมีขี้ตาเยอะ หรือจมูกแห้ง และอาจจะพบเยื่อเมือกสีเข้มขึ้นกว่าปกติ

การดูแลที่บ้าน ที่เจ้าของสุนัขสามารถทำได้เอง

-   ควรแน่ใจก่อนว่าสุนัขมีอาการไข้จริง ไม่ใช่ภาวะฮีทสโตรก โดยการใช้ที่วัดอุณหภูมิ พบว่าอุณหภูมิอยู่ที่ 99.5-102.5 ฟารเรนไฮต์
-   ใช้ผ้าเช็ดตัวชุบน้ำอุณหภูมิห้อง หรือน้ำที่เย็นกว่าปกติเล็กน้อย ไม่ควรเย็นจัดจนเกินไป เช็ดที่ใต้ท้อง ใบหู อุ้งเท้า ใช้ระยะเวลาเช็ดประมาณ 15 นาที และทดลองไว้ไข้ซ้ำ
-   ไม่ควรให้ยาลดไข้สำหรับเด็ก หรือยาลดไข้สำหรับคนกับสุนัขด้วยตัวเอง เนื่องจากหากให้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมจะทำให้สุนัขเกิดภาวะตับวาย
-   ถ้าสุนัขไม่ยอมทานน้ำ หรือไม่ยอมทานอาหาร อาจจะอุ่นอาหารให้ร้อน และใช้ไซริงค์ดูดอาหารป้อน
-   ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรอดูอาการไม่เกิน 24 ชั่วโมง จากนั้นควรพาสุนัขไปตรวจเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการไข้กับสัตวแพทย์ต่อไป
-   ในกรณีที่ไปพบสัตวแพทย์ และได้รับการรักษาแล้ว แต่พบว่าสุนัขยังมีอาการไข้อยู่ ไม่ควรให้ยาลดไข้เอง ยาลดไข้ในสุนัขมีวิธีการใช้ต่างจากคน ไม่จำเป็นต้องให้ทุก 4 ชั่วโมงเหมือนในคน ถ้าอาการไข้สูงไม่ลดหลังจากได้รับยาลดไข้ แนะนำว่าให้ใช้การเช็ดตัวช่วย ร่วมกับการรักษาที่ต้นเหตุของอาการไข้



Tags: