เรื่อง: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคมะเร็งในสุนัข
 
 1643

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

My Name: ขายหมา ออฟไลน์
Administrator
เพศ: ชาย
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
24 ก.ค. 64, 20:44:10น.
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคมะเร็งในสุนัข

          เนื้องอก (Neoplasia or Tumor) หมายถึง เนื้อเยื่อของร่างกายที่มีการแบ่งตัวหรือการเจริญที่ผิดปกติไป ซึ่งอาจจะแบ่งได้ 2 ชนิด คือ เนื้องอก (Benign) ซึ่งจะมีแนวโน้มที่จะโตช้า และไม่ค่อยแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆของร่างกายและเนื้อร้าย หรือที่เราเรียกว่า “มะเร็ง” (Malignant tumor) ซึ่งจะมีอัตราการเจริญเติบโตแตกต่างตามแต่ชนิดของเซลล์มะเร็ง และมีโอกาสแพร่กระจายสู่อวัยวะอื่นๆ (Metastasis)

          สุนัขราว 1 ใน 4 จะตรวจพบว่ามีเนื้องอกตามอวัยวะต่างๆและเมื่อายุประมาณ 10 ปีก็จะพัฒนาไปเป็นมะเร็ง สุนัขมีอัตราการการเกิดโรคมะเร็งไม่ต่างไปจากในคน จากการศึกษาอัตราการเสียชีวิตของสุนัขทุกสายพันธุ์และทุกช่วงอายุกว่า 74,556 ตัว ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสถาบัน Veterinary Medical Database (VMDB) ตั้งแต่ปี 1984 – 2004 จากงานวิจัยพบว่าสุนัขโตเต็มวัย (อายุ 1 ปีขึ้นไป) ทุกสายพันธุ์ทั้งสุนัขพันธุ์เล็กและพันธุ์ใหญ่  มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเป็นอันดับ 1 แต่มีแนวโน้มว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่จะมีแนวโน้มเสียชีวิตจากมะเร็งมากกว่าสุนัขสายพันธุ์เล็ก




          มะเร็งที่พบได้บ่อยในสุนัข เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Lymphoma), มะเร็งกระดูก (Osteosarcoma), มะเร็งชนิดมาสท์เซลล์ (Mast cell tumor), มะเร็งช่องปาก (Oral melanoma) และมะเร็งเยื่อบุผนังหลอดเลือด (Hemagiosarcoma) เป็นต้น มะเร็งแต่ละชนิดจะแสดงอาการที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของเซลล์มะเร็งและอวัยวะที่เป็น น้ำหนักลด ความอยากอาหารลดลง หรือไม่ยอมกินอาหาร

-   ช่องท้องขยายขนาด ท้องโตกว่าปกติ

-   หอบหายใจ เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยอยากลุก

-   ท้องเสีย หรืออาเจียนเรื้อรัง

-   มีแผลที่เป็นแล้วไม่หาย หรือหายช้า ผิวหนังบางบริเวณเปลี่ยนสี

-   มีกลิ่นปาก หรือมีเลือดออก ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น

-   มีไข้ขึ้นๆลงๆ เจ็บปวดตามร่างกายเวลาจับ

-   อาการชัก มีอาการทางระบบประสาทอื่นๆ เช่น เดินเซ ตาบอดฉับพลัน

-   พบก้อนเนื้องอกในอวัยวะต่างๆที่มองเห็น เช่น ช่องปาก ผิวหนัง

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งในสุนัข

          มะเร็งบางชนิดในสุนัขสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่บางชนิดมีอัตราการแพร่กระจายและมีความรุนแรง บางครั้ง
เป้าหมายของการรักษาไม่ใช่การรักษาให้หายขาด แต่เป็นการประคับประคองคุณภาพชีวิตให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดในช่วงสุดท้ายของชีวิต

   มะเร็งแต่ละชนิดมีการรักษาที่ต่างกัน ซึ่งส่วนมากมักจะใช้วิธีการรักษาหลายอย่างร่วมกันเช่นเดียวกับในคน ได้แก่ การผ่าตัด (Surgery), การให้เคมีบำบัด (Chemotherapy), การฉายแสง (Radiation), การจี้ด้วยความเย็น (Freezing Cryosurgery), การรักษามะเร็งด้วยความร้อน (Hyperthermia) และการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ซึ่งมีแนวโน้มว่าสุนัขจะดื้อต่อยาเคมีบำบัดมากกว่าในคน

          นอกจากการรักษาที่โรงพยาบาลแล้ว สิ่งที่สำคัญในการดูแลสุนัขที่ป่วยเป็นมะเร็ง คือเจ้าของต้องคำนึงถึงสุขภาพโดยรวมของสุนัข  ทั้งเรื่องสภาพความเป็นอยู่ สภาพจิตใจ ความเครียด การบรรเทาความเจ็บปวด และการดูแลโภชนาการที่เหมาะสม สุนัขจะมีความเบื่ออาหาร อาจจะมีความอยากอาหารลดลง หรือบางครั้งที่สุนัขบางตัวไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือเคมีบำบัดได้ การรักษาด้วยวิธีทางเลือก รวมทั้งการให้อาหารที่เหมาะสมที่สามารถช่วยเยียวยาสุนัขที่ป่วยเป็นมะเร็งได้ จึงเป็นอีกวิธีที่สำคัญที่เจ้าของสุนัขต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ

Tags: